ผู้เขียน : กวิน การุณรัตนกุล *
ประเทศยุโรปโดยส่วนใหญ่ได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานการศึกษาอยู่ในระดับสูง มีงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติมากมาย ทั้งยังมีเงินทุนสนับสนุนการศึกษาเป็นจ านวนมาก ประเทศเบลเยียมก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความส าคัญกับการศึกษามาก และมีมาตรฐานการศึกษาที่สูงเป็นอันดับต้นๆของยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวิทยาศาสตร์ ในฐานะที่ผมได้มีโอกาสมาศึกษาที่ประเทศเบลเยี่ยม จึงอยากจะเล่าถึงประสบการณ์การศึกษาในประเทศเบลเยียมให้ฟังกันครับ ผมคงจะไม่เล่าว่าผมเรียนอะไรบ้างนะครับ แต่จะเล่าถึงระบบการศึกษาของประเทศเบลเยี่ยมเท่าที่ผมทราบซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านมากกว่าครับ
ประเทศเบลเยียมเองนั้นมีความแตกต่างทางด้านภาษาและวัฒนธรรมค่อนข้างสูง มีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 เขตใหญ่ ๆ คือเขตที่ใช้ภาษาเนเธอร์แลนด์เป็นภาษาราชการอยู่ทางตอนเหนือของเบลเยียมเรียกว่า Flanders ส่วนเขตปกครองทางใต้จะใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการเรียกว่า Wallonia ทั้ง 2 เขตต่างก็มีการปกครองเป็นของตัวเองโดยมีรัฐบาลกลางดูแลในระดับประเทศอีกที ดังนั้นนโยบายต่างๆ ของทั้ง 2 เขตปกครองนี้อาจจะแตกต่างกันได้ เนื่องจากว่าผมเรียนอยู่ที่เมือง Leuven ซึ่งเป็นเมืองที่ใช้ภาษาเนเธอร์แลนด์ ดังนั้นสิ่งที่ผมจะเล่าให้ฟังในบทความนี้ก็จะขอจ ากัดอยู่แค่ Flanders เท่านั้น
ประเทศเบลเยียมให้ความส าคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านของมาตรฐานการศึกษา และในด้านของการให้โอกาสให้ประชาชนทุกคนได้รับการศึกษาโดยเท่าเทียมกัน ดังนั้นจึงไม่มีการสอบเข้า และไม่มีการคิดค่าเล่าเรียนส าหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขยับขึ้นมาที่ระดับมหาวิทยาลัยค่าเล่าเรียนก็ยังถือว่าถูกมากๆ เมื่อเทียบกับค่าครองชีพ นักศึกษาที่นี่จ่ายค่าเล่าเรียนปีละ 560ยูโรเท่านั้น ขอเน้นว่า ต่อปี นะครับ ไม่ใช่ต่อเทอม จะเห็นได้ว่าค่าเรียนไม่ได้แพงกว่าเรียนที่เมืองไทยเลยนะครับ ที่เค้าท าแบบนี้ได้เพราะว่ารัฐเป็นผู้จ่ายเงินสนับสนุนให้ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยที่นี่ก็มีรายได้จากการรับจ้างท างานวิจัยอีกด้วยซึ่งผมจะเล่าให้ฟังโดยละเอียดอีกทีนะครับ
ก่อนอื่นผมอยากจะย ้าอีกครั้งว่า ประเทศเบลเยี่ยมนั้นให้ความส าคัญกับการศึกษาทั้งระบบอย่างจริงจัง แน่นอนว่าการให้โอกาสได้เรียนนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ว่าการเรียนการสอนนั้นต้องเป็นไปอย่างมีคุณภาพด้วยจึงจะมีประโยชน์อย่างแท้จริง และการที่จะสอนอย่างมีคุณภาพได้นั้นย่อมต้องเริ่มจากการมีครูที่มีคุณภาพครับ ที่เบลเยียม นี่คนที่จะเป็นครูได้ต้องจบครูเท่านั้นนะครับ และครูจะสอนได้เฉพาะในระดับชั้น และสาขาวิชาที่ตัวเองเรียนมาเท่านั้นนะครับ เช่น ถ้าผมเรียนจบครูเพื่อสอนวิชาเลขและวิทยาศาสตร์ส าหรับระดับชั้นมัธยมต้น ผมจะไปสอนภาษาไทยไม่ได้ ไปสอนระดับประถม หรือมัธยมปลายก็ไม่ได้นะครับ ทั้งนี้เพราะว่าเด็กในช่วงอายุต่างกันย่อมมีวิธีการในการเรียนรู้ต่างกัน ดังนั้นครูต้องมีวิธีการสอนที่เหมาะสมกับอายุเด็กด้วย นอกจากนี้ครูที่จะสอนนักเรียนใน 2 ปีสุดท้ายของมัธยมปลายได้ (เทียบกับประเทศไทยก็คือ มัธยมปีที่ 5 และ 6) จะต้องจบปริญญาโทเป็นอย่างน้อย จะเห็นได้ว่าเค้าให้ความส าคัญกับผู้สอนมากๆนะครับ เรียกว่านอกจากจะต้องมีความรู้แล้ว ยังจะต้องมีความสามารถในการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนด้วย และการควบคุมแบบนี้ยังเป็นการให้ความส าคัญแก่วิชาชีพครูด้วยนะครับ ไม่ได้เรียนจบครูมาก็ห้ามสอน ง่ายๆแค่นั้น ถ้าประเทศไทยสามารถสร้างครูที่มีคุณภาพได้แบบนี้ (และได้รับค่าตอบแทนที่ดีพอที่จะจูงใจให้คนอยากจะมาเป็นครู) ผมเชื่อว่าการศึกษาในประเทศไทยจะดีขึ้นมากทีเดียว
เรื่องของการเรียนการสอนในโรงเรียนนั้นผมคงต้องขอข้ามไปนะครับ เพราะว่าไม่ได้มีประสบการณ์ตรงคงจะเล่าได้ไม่ถูกต้องนัก ก็จะขอข้ามมาเล่าถึงการเรียนในมหาวิทยาลัยเลย การสอนที่นี่ก็คล้ายๆกับที่เมืองไทยครับ ครูสอน นักเรียนจด แต่จะมีการถาม-ตอบระหว่างครูกับนักเรียนมากกว่าของไทย นักเรียนที่นี่เหมือนจะถูกฝึกให้ถามมาตั้งแต่เด็กแล้ว ซึ่งผมว่าเป็นเรื่องที่ดีนะครับ ไม่เข้าใจแล้วถามก็จะท าให้เข้าใจมากขึ้น อีกอย่างหนึ่งการถามก็เป็นการฝึกจับประเด็นด้วยนะครับ ถ้าฟังแล้วจับประเด็นไม่ได้ก็จะไม่รู้ว่าควรถามอะไร เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องที่ฝึกฝนกันได้นะครับ และเค้าก็พยายามฝึกกันตลอดเวลา ถ้านักเรียนไม่ถาม ครูก็จะเป็นคนถามเองเป็นการกระตุ้นให้คิด ให้หาค าตอบ นอกจากนี้การสอนโดยทั่วไปจะเน้นความเข้าใจมากกว่าความจ าครับ เวลาสอบแค่ตอบถูกไม่พอนะครับ ต้องอธิบายได้ด้วยว่าท าไมเราถึงตอบแบบนั้น มีเหตุผลรองรับอย่างไร ไม่อย่างนั้นก็ไม่ได้คะแนน ข้อสอบก็มีทั้งแบบข้อเขียน และสอบปากเปล่า โดยส่วนตัวผมชอบสอบปากเปล่านะครับเพราะว่าครูสามารถถามเพิ่มเติมได้ถ้าหากว่านักเรียนยังตอบได้ไม่ครบถ้วนท าให้วัดระดับความรู้ความเข้าใจของนักเรียนได้ดีกว่า แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ใช้เวลานานเพราะว่านักเรียนต้องเข้าไปคุยกับครูทีละคน ผมเคยนั่งอยู่ในห้องสอบนานที่สุด 6 ชั่วโมงครับ ข้อเขียนนั้นเสร็จตั้งแต่ 3 ชั่วโมงแรกแล้วครับแต่ต้องนั่งรอเพื่อรอคิวเข้าไปคุยกับครู หลังๆชักรู้แนวครับ ได้ข้อสอบมาก็เข้าไปสอบปากเปล่าก่อนเลย แล้วค่อยออกมาท าข้อเขียนทีหลัง เขียนเสร็จเมื่อไหร่ก็กลับบ้านได้เลยประหยัดเวลาไปได้เยอะครับ การเรียนในระดับปริญญาเอกที่เบลเยียมนี่ยิ่งถูกลงไปอีกนะครับ เสียค่าลงทะเบียนปีแรก และปีสุดท้ายปีละ 260ยูโร ระหว่างนั้นเสียแค่ปีละประมาณ 25 ยูโรเพื่อเป็นการรักษาสภาพนักศึกษาเท่านั้น นอกจากนี้การเรียน
ปริญญาเอกที่นี่ยังได้เงินเดือนด้วยนะครับเป็นรายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษี เป็นเงินประมาณ 1,200ยูโร/เดือน ผมอยากจะให้ลองเทียบกับค่าเรียนปริญญาเอกในประเทศไทยดูครับว่าต่างกันขนาดไหน จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่มีคนจบปริญญาเอกในประเทศไทยน้อยมากๆ ค าถามที่น่าสนใจก็คือ แล้วมหาวิทยาลัยอยู่ได้อย่างไร เอาเงินจากไหนมาใช้ในการท าวิจัยทั้งๆที่เก็บค่าลงทะเบียนน้อยมาก แถมยังต้องจ่ายเงินเดือนให้นักเรียนอีก เงินที่เอามาจ่ายให้นักเรียนนี้มาจากเอกชน รวมทั้งจากกองทุนที่ให้ทุนท าวิจัยครับ ที่นี่มีการท าวิจัยร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย กับเอกชนเยอะมากครับ ค่าใช้จ่ายในโครงการทั้งหมดทางเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบรวมทั้งเงินเดือนนักเรียนด้วยครับ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยจะได้รับเงินเป็นค่าใช้สถานที่ด้วยเป็นจ านวนเท่ากับที่นักเรียนได้ คือจริงๆแล้วเอกชนต้องจ่าย 3,400ยูโร/เดือน ซึ่งถือว่าถูกมากนะครับส าหรับเงินเดือนปริญญาโทที่เบลเยี่ยม (ควรจะต้องท าความเข้าใจด้วยว่าคนเบลเยี่ยมนั้นเสียภาษีสูงมากนะครับ ทั้งภาษีเงินได้ และเงินสวัสดิการสังคม โดยเฉลี่ยแล้วต้องเสียถึงเกือบ 50% เลยทีเดียว ดังนั้นการที่เงินรายได้ของนักเรียนไม่ต้องเสียภาษีจึงเหมือนกับว่ารัฐบาลยกภาษีส่วนนี้ให้มหาวิทยาลัยโดยตรงนั่นเอง) นอกจากนี้ทางเอกชนยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมด้วย ทั้งสามฝ่ายต่างก็ได้ประโยชน์ ตัวนักเรียนได้เงินและได้ปริญญา มหาวิทยาลัยได้เงินและชื่อเสียง ส่วนเอกชนได้ผลวิจัยที่ต้องการในราคาค่าจ้างที่ถูกมากเมื่อเที่ยบกับการท าวิจัยด้วยตัวเอง ลิขสิทธิ์ของงานวิจัยนั้นก็ต้องแบ่งกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับเอกชนตามสัดส่วนที่ตกลงกันไว้ การท าปริญญาเอกที่นี่จึงเป็นเหมือนลูกจ้างมากกว่านักเรียน จบไปก็สามารถหางานท าได้ตามต้องการไม่ต้องใช้ทุน
ผมขอจบบทความด้วยเรื่องทุนการศึกษาดีกว่าครับ ผมเห็นว่าการให้ทุนของรัฐบาลไทย ที่มีสัญญาระยะยาวกับผู้รับทุนนั้นมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางถึงข้อดีข้อเสีย (ส่วนใหญ่จะได้ยินแต่ข้อเสีย) และมีการเปรียบเทียบกับการให้ทุนแบบให้เปล่าของต่างประเทศ ผมในฐานะที่เป็นนักเรียนทุนรัฐบาลก็อยากจะแสดงความคิดเห็นไว้ในบทความนี้ด้วย ผมคิดว่าการให้ทุนแบบให้เปล่าเป็นเรื่องที่ดีนะครับ แนวคิดไม่มีปัญหา ปัญหาคือจะท าให้เป็นจริงได้อย่างไรครับ ผมอยากให้ลองพิจารณาย่อหน้าที่แล้วเป็นตัวอย่าง เอกชนที่ให้ทุนนั้นเป็นผู้ว่าจ้าง ส่วนมหาวิทยาลัยและนักเรียนก็เป็นคนที่รับจ้างท างานวิจัยนั้นๆให้ เมื่อได้ผลออกมาแล้วคนให้ทุนก็เป็นเจ้าของผลงาน เอาผลงานไปใช้ได้เลย ทีนี้ลองมองกลับมาที่ทุนรัฐบาลไทยบ้างครับ ผู้ลงทุนคือรัฐบาลที่ออกเงินให้นักเรียนไปเรียน แล้วสุดท้ายรัฐบาลไทยได้อะไรครับ ค าตอบก็คือไม่ได้อะไรเลยนอกจากตัวนักเรียนที่ส่งไปเรียนครับ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถเปรียบเทียบทุนรัฐบาลไทยกับทุนให้เปล่าจากต่างชาติได้ครับ ทุนต่างชาตินั้นเค้าจ้างเราท างาน สิ่งที่เค้าต้องการคือผลงานวิจัยครับ ไม่ใช่ตัวนักเรียน เงินที่เหมือนให้เปล่านั้นจริงๆแล้วก็คือการจ้างเราท างานนั่นเอง ดังนั้นจึงไม่สามารถเรียกว่าให้เปล่าได้ จริงอยู่ที่บางครั้งลิขสิทธิ์ของงานวิจัยนั้นๆก็ไม่ได้อยู่ที่ผู้ให้ทุนโดยตรง แต่อย่างน้อยผลงานเหล่านั้นก็ยังเป็นของมหาวิทยาลัย ซึ่งก็ยังเป็นของประเทศผู้ให้ทุน ไม่ได้หายไปไหน โดยส่วนตัวแล้วผมเห็นด้วยที่จะให้ทุนรัฐบาลไทยเป็นทุนให้เปล่า แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าลิขสิทธิ์ของผลงานวิจัยทั้งหมดต้องเป็นของประเทศไทย ซึ่งนั่นอาจจะหมายถึงการปรับปรุงระบบ
การศึกษาของไทยให้มีความสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ รวมถึงการให้ทุนเพื่อเรียนปริญญาเอกในประเทศ ฯลฯ ก่อนจะถึงวันนั้นผมเห็นว่านักเรียนทุนรัฐบาลไทยทุกคนสมควรระลึกไว้ว่าตัวเราเองนั่นแหละคือผลงานที่เพื่อนร่วมชาติลงทุนเอาไว้ และเค้าก็มีสิทธิที่จะได้ใช้เรานะครับ
ขอบคุณผู้แต่ง คุณ กวิน การุณรัตนกุล
เพิ่มเติม
http://www.studysqr.com/สวิสเซอร์แลนด์/interesting-things-in-switzerland/
http://www.studysqr.com/อิตาลี/good-to-know-italy/
http://www.studysqr.com/เยอรมัน/etiquette-should-know-for-living-in-germany/
http://www.studysqr.com/โปรตุเกส/attractions-in-portugal/
http://www.studysqr.com/โปรตุเกส/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น